วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Derivative Warrants


 Derivative Warrants

 เป็นวอร์แรนต์ชนิดหนึ่งแยกเป็นหมวดเฉพาะ คือ หมวดใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ DW มีลักษณะคล้ายสัญญาอนุพันธ์ คือ เป็นสิทธิ ในการซื้อ (Call option) หรือ สิทธิในการขาย (Put option) หลักทรัพย์อ้างอิงในอนาคต ตามราคา จำนวน วัน และเงื่อนไขในการใช้สิทธิตามที่ผู้ออกกำหนด ทั้งนี้ ผู้ออก DW ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนผู้ออกหุ้นอ้างอิง


เกณฑ์ในการตั้งชื่อย่อของ DW ไว้ โดยให้มี 8 หลัก ได้แก่     AAAABBCD

AAAA    ชื่อหุ้นอ้างอิง 4 อักษรตัวแรก
ฺBB           รหัสสมาชิคโบรกเกอร์ผู้ออก DW
C             ประเภท DW  โดย  C  หมายถึง   Call DW     
                                             P  หมายถึง    Put DW
D               รุ่นที่ออก   ใช้สัญลักษณ์  A-Z

DW มีอายุตั้งแต่ 2 เดือน - 2 ปี เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับการลงทุนระยะสั้น เนื่องจากราคาของ DW ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) และมูลค่าเวลา (Time Value) เมื่อใกล้ครบกำหนดอายุ ส่วนที่เป็นมูลค่าเวลาจะค่อยๆลดน้อยลงไป เหลือแต่ส่วนที่เป็นมูลค่าที่แท้จริง

DW มี 2 ประเภท คือ
Call DW หรือ DW ที่ให้สิทธิในการซื้อหุ้นอ้างอิง นักลงทุนควรเลือกลงทุนใน Call DW เมื่อมีมุมมองเป็นบวกต่อราคาหุ้นอ้างอิง พูดง่ายๆก็คือ ถ้าคิดว่าราคาหุ้นอ้างอิงจะขึ้น จึงจะซื้อ Call DW

 ราคาของ Call DW = มูลค่าที่แท้จริง + มูลค่าเวลา 
                                  = [(ราคาหุ้นอ้างอิง – ราคาใช้สิทธิ) / อัตราใช้สิทธิ] + มูลค่าเวลา

ผลตอบแทนจากการลงทุนใน Call DW ณ วันครบกำหนดอายุ
ผลตอบแทนของ Call DW = (ราคาหุ้นอ้างอิง – ราคาใช้สิทธิ) / อัตราใช้สิทธิ

Put DW หรือ DW ที่ให้สิทธิในการขายหุ้นอ้างอิง นักลงทุนควรเลือกลงทุนใน Put DW เมื่อมีมุมมองเป็นลบต่อราคาหุ้นอ้างอิง นั่นคือ ถ้าคิดว่าราคาหุ้นอ้างอิงจะลง จึงจะซื้อ Put DW

ราคาของ Put DW = มูลค่าที่แท้จริง + มูลค่าเวลา 
                                  = [(ราคาใช้สิทธิ – ราคาหุ้นอ้างอิง) / อัตราใช้สิทธิ] + มูลค่าเวลา

ผลตอบแทนจากการลงทุนใน Put DW ณ วันครบกำหนดอายุ
ผลตอบแทนของ Put DW = (ราคาใช้สิทธิ– ราคาหุ้นอ้างอิง) / อัตราใช้สิทธิ

DW แตกต่างจากวอร์แรนต์ทั่วไปอย่างไร

DW มีอายุ 2 เดือนถึง 2 ปี 
หุ้นอ้างอิงเป็นหุ้นใน SET50
ผู้ออกเป็นธนาคารหรือบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจาก สำนักงาน ก.ล.ต. และไม่ใช่ผู้ออกหุ้นอ้างอิง
มีผู้ดูแลสภาพคล่องอย่างน้อย 1 ราย
ไม่ต้องมีหุ้นเพิ่มทุนมารองรับการใช้สิทธิ ดังนั้น ไม่เกิด dilution effect ต่อหุ้นอ้างอิง
Warrant  มีอายุน้อยกว่า 10 ปี
หุ้นอ้างอิงเป็นหุ้นของบริษัทนั้นๆ
ผู้ออกเป็นบริษัทผู้ออกหุ้นอ้างอิง
ไม่กำหนดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่อง
มีการออกหุ้นเพิ่มทุนเพื่อรองรับการใช้สิทธิ ดังนั้นจะมี dilution effect ต่อหุ้นอ้างอิง

ผลตอบแทนจากการลงทุนใน DW มี 2 แบบคือ
1.กำไร-ขาดทุนจากการซื้อขาย DW ในตลาดหลักทรัพย์ ฯ
กำไร-ขาดทุนจากการซื้อขาย DW ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเหมือนกับกำไร-ขาดทุนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ทั่วไป 
2.กำไร-ขาดทุนจากการใช้สิทธิ
ในกรณีที่ DW อยู่ในสถานะ In the Money นักลงทุนจะมีกำไรจากการใช้สิทธิ ทั้งนี้ นักลงทุนมีภาระภาษีจากส่วนต่างเงินสดที่ได้รับจากการใช้สิทธิด้วย  ในทางกลับกัน นักลงทุนจะมีการจำกัดขาดทุนอยู่ที่ต้นทุนของ DW นั่นหมายความว่า ถ้านักลงทุนถือ DW ไว้จนถึงวันครบกำหนดอายุ โดยไม่ใช้สิทธิ มูลค่าของ DW ที่ถืออยู่จะกลายเป็นศูนย์ และถูกเพิกถอนออกจากกระดานหลักทรัพย์ในวันทำการถัดจากวันครบกำหนดอายุ


รายละเอียดไฟร์  PDF  แบบเข้าใจง่ายๆ
รอบรู้เรื่องหุ้นอนุพันธ์   PDF   น่าสนใจ
การลงทุนหุ้นออนไลน์  PDF  ง่ายนิดเดียว
Gold futures  PDF  แบบครบเครื่อง


เปิดพอร์ท 4500 บาท

พอร์ทหุ้นพอร์ทแรกในชีวิต   เริ่มต้นที่  4500  บาท  



           วันนี้ผมมีพอร์ตการลงทุนเล็กๆ ส่วนตัวแล้ว  ถึงจะเล็ก แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีว่ามั๊ย    เพราะถ้าเกิดความเสียหายก็จะเสียเงินน้อย  เริ่มเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปก่อนแล้วค่อยเพิ่มขนาดของพอร์ตก็ยังไม่สาย    แท้จริงแล้วมีเงินทุนเพียงแค่ 5000  เหลือใว้กิน 500 บาท    วงจรชีวิตเม่าน้อยเริ่มขึ้นแล้ว  เปิดพอร์ตตอนหุ้นลงแหม  มาได้จังหวะพอดี  แต่จะเป็นอย่างไรโปรดติดตามตอนต่อไป